เรื่องราวของทองคำมิชิโนะกุ

index

คิงคะซัง ถือเป็นสถานที่ศักดิสิทธิ์หนึ่งในสามของโทโอ (โทโอ ปัจจุบันคือส่วนหนึ่งในภูมิภาคโทโฮคุ) ร่วมกับ ภูเขาฮะกุโระ, และภูเขาโอโซเระ

 

ในขณะที่ “มิจิโนะกุ โกลด์​” ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ทางการค้า ซึ่งเป็นตัวแทนแห่งทองคำของญี่ปุ่น คิงคะซังก็ได้กลายเป็นสถานที่ศักดิสิทธิ์ ซึ่งเชื่อมโยงกับตำนานแห่งทองคำ และได้รับการพัฒนาอย่างยิ่งใหญ่ในฐานะ “คิงคะซังโมเดะ”
และยังคงได้รับความศรัทธา ในฐานะ “เกาะแห่งการอธิษฐาน ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของเทพเจ้าแห่งทองคำ” จวบจนกระทั่งปัจจุบัน

เส้นทางแสวงบุญ จากอิชิโนะมากิ มุ่งหน้าไปยังคิงคะซัง ถูกเรียกว่า “เส้นทางคิงคะซัง”
เคยมีกฎห้ามไม่ให้สตรีเดินทางไปสักการะศาลเจ้าบนเกาะคิงคะซัง จนถึงช่วงต้นของสมัยเมจิ ทำให้บรรดาสตรีต้องสักการะศาลเจ้าจาก “เสาโทริอิต้นที่หนึ่ง” ซึ่งตั้งอยู่บริเวณยามะโดะริ
ปัจจุบัน กฎข้อห้ามไม่ให้สตรีเข้าถูกยกเลิกไปแล้ว และสามารถเดินทางจากท่าเรืออายุคาวะ ไปยังเกาะคิงคะซังได้ แต่บริเวณ “ยามะโดริ โนะ วาตาชิ” ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดเส้นทางคิงคะซัง ก็ยังคงหลงเหลือ “เสาโทริอิต้นที่หนึ่ง” กับท่าเทียบเรือในอดีต และเส้นทางสายเก่าอยู่ สื่อให้เห็นถึงทัศนียภาพในยุคนั้น

Home Trip Finder