ซากอุโบสถที่ตั้งอยู่ในเขตโคกาเนะยามะ เป็นพระอุโบสถที่สร้างขึ้นในพื้นที่การขุดทองหลังจากได้รับฟังพระราชดำรัสจากพระจักรพรรดิโชมุเกี่ยวกับการผลิตทองครั้งแรกในญี่ปุ่นว่าเป็น “สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงให้พร” ถือเป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญที่ยืนยันว่าดินแดนนี้เป็นสถานที่แห่งแรกในญี่ปุ่นที่ผลิตทองขึ้นมาได้
เป็นกระเบื้องมุงหลังคาที่ถูกใช้ในพระอุโบสถที่สร้างขึ้นในโบราณสถานการผลิตทองคำโคกาเนะยามะ จากรูปทรงของกระเบื้องบ่งบอกได้ว่าพระอุโบสถทรงกลมได้ถูกสร้างขึ้น และจากการที่มีกระเบื้องที่ระบุปีศักราชว่า “เท็มเปียว” ประกอบอยู่ ทำให้ทราบว่าช่วงปีที่ก่อสร้างพระอุโบสถอยู่ในช่วงรัชสมัยเท็มเปียว ถือเป็นวัตถุล้ำค่าที่ถ่ายทอดเนื้อหาใจความของโบราณสถานออกมาได้อย่างเป็นรูปธรรม
เป็นศิลาจารึกบทกวีที่ตั้งอยู่ภายในเขตศาลเจ้าโคกาเนะยามะ มันได้จารึกบทกวีมันโยของโอโทโมะ โนะ ยากาโมจิที่ได้ประพันธ์ถึงความยินดีในการผลิตทองออกมาได้ไปพร้อมกับพระจักรพรรดิโชมุ ซึ่งประพันธ์ไว้ว่า “ทอง” ที่ผลิตขึ้นมาได้บน “ภูเขาในอำเภอโอดะ (ตำบลวาคุยะในปัจจุบัน)” ได้ถูกขนย้ายมาที่เมืองนาราที่อยู่แสนไกลและกลายมาเป็นเรื่องน่ายินดีระดับชาติ ถือว่าเป็นศิลาจารึกบทกวีที่เป็นสัญลักษณ์แห่ง “ทองคำในมิจิโนกุ”
ภูเขาศักดิ์สิทธิ์โนโนะดาเกะ (236 เมตร) ที่ตั้งอยู่ตรงใจกลางพื้นที่ตำบลวาคุยะ มีแม่น้ำที่ผลิตทองออกมาอย่างเช่นแม่น้ำโคกาเนะซาวะไหลผ่าน ตามที่ปรากฏในบทกวีมันโยว่าผลิตทองได้บน “ภูเขาที่อยู่ในอำเภอโอดะ (ตำบลวาคุยะในปัจจุบัน)” ก็เป็นที่แน่ชัดว่าธุรกิจการขุดทองเป็นครั้งแรกในญี่ปุ่นได้ขยับขยายขึ้นมาโดยมีภูเขาแห่งนี้เป็นฉากสำคัญ
เป็นศาลเจ้าที่สร้างอยู่บนซากอุโบสถที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์การผลิตทองคำ ประวัติของศาลเจ้าสามารถย้อนไปถึงช่วงที่ผลิตทองออกมาได้เป็นครั้งแรกในญี่ปุ่น และตัวภูเขาที่ผลิตทองออกมาได้จนถึงช่วงสมัยใหม่ตอนต้นเป็นสิ่งที่มีวิญญาณของเทพเจ้าสิงสถิตอยู่ แม้จะเป็นช่วงหลังจากที่พระอุโบสถที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์การผลิตทองคำได้กลายเป็นซากปรักหักพังไปแล้ว แต่ที่นี่ก็ยังเป็นศาลเจ้าที่มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ที่เป็นอนุสรณ์ว่าสถานที่นี้เป็นพื้นที่การผลิตทองคำแห่งแรกในญี่ปุ่น
เป็นผงทองที่ผลิตได้จากภูเขาโนโนะดาเกะในตำบลวาคุยะ ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากแหล่งแร่ส่วนรองที่มีผงทองทับถมอยู่ในชั้นดิน เป็นแร่ที่บ่งชี้ให้เห็นว่าประวัติศาสตร์การขุดทองในญี่ปุ่นเริ่มต้นมาจาก “การร่อนทอง” โดยผงทองที่เริ่มสกัดออกมาได้เป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 749 นั้นได้ถูกนำมาใช้เป็นวัสดุสำหรับเคลือบพระไวโรจนพุทธะที่วัดโทไดจิ