story 2
ดินแดนสีทองในอุดมคติ
Scroll
หากพูดถึง “ทองคำ” แห่งมิจิโนกุ สิ่งที่ผู้คนจะนึกถึงเป็นอย่างแรกก็คงจะเป็น “คอนจิกิโด (โบสถ์สีทอง)” แห่งวัดจูซนจิในตำบลฮิราอิซูมิ จังหวัดอิวาเตะ ซึ่งความเจิดจ้านั้นไม่ได้มีอยู่เพียงบนทองคำเปลวที่ปกคลุมอยู่ทั่วอุโบสถเท่านั้น แต่ไม่ว่าจะเป็นงาช้างหรือไม้จันทน์สีแดงจากต่างประเทศที่ใช้เป็นแท่นประดิษฐานพระประธาน งานประดับมุกจากหอยสังข์กรีนเทอบัน ภาพวาดลงรักบนเครื่องเขิน รวมถึงเครื่องโลหะฉลุนั้น ล้วนเป็นหลักฐานแห่งความมั่งคั่งจากผงทองที่มีอยู่ล้นเหลือ ที่ทำให้การค้าในยุคนั้นเจริญรุ่งเรืองตามไปด้วย และเป็นเครื่องบ่งบอกว่าความงดงามของงานฝีมือสุดละเอียดละออในสมัยเฮอันได้มารวมตัวอยู่ที่ฮิราอิซูมิแล้ว
แต่บทบาทของหน้าที่ของ “ทอง” ที่ได้บรรลุไปก็ไม่ใช่เพียงการเป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่งคั่งเท่านั้น ในสมัยปัจฉิมธรรม ตระกูลโอชูฟูจิวาระซึ่งเป็นเจ้าผู้สร้างวัดได้ปรารถนาถึงโลกที่สงบสุขและเท่าเทียมกันโดยปราศจากความขัดแย้ง แลทำให้ดินแดนในอุดมคตินั้นเกิดความชัดเจนเป็นรูปธรรมด้วย “ทองคำ” ที่ส่องสว่างไปทั้งโลก ด้วยเหตุนั้น ตระกูลโอชูฟูจิวาระจึงได้ให้ความสำคัญกับพื้นที่การผลิตทองคำส่วนชายฝั่งทะเลและพื้นที่ภูเขาคิตาคามิซึ่งเป็นพื้นที่จัดหา “ทองคำ” ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ทาสึงาเนะที่ครอบคลุมไปถึงตำบลมินามิซันริคุ และเมืองเคเซ็นนุมะ จังหวัดมิยางิ ซึ่งสามารถกวาดสายตาชมพื้นที่การผลิตทองคำได้ทั่วนั้น มีสถานที่ฝังพระไตรปิฎกและซากวัดที่เกี่ยวข้องกับตระกูลโอชูฟูจิวาระคงเหลืออยู่ สิ่งเหล่านี้ได้ถ่ายทอดเรื่องราวความผูกพันอย่างลึกซึ้งระหว่างฮิราอิซูมิซึ่งเป็นแหล่งบริโภค “ทอง” และพื้นที่การผลิตทองคำที่ค้ำจุนกัน ทำให้ดินแดนในอุดมคติเกิดเป็นรูปธรรมขึ้นมา
อุโบสถสีทองล้วนที่สร้างขึ้นโดยมีรากฐานจากผงทองใน “มิจิโนกุ” ซึ่งการแปรรูปทองนั้นแรกเริ่มเดิมที ได้ใช้ผลผลิตจากทั้งในและต่างประเทศแบบไม่กลัวเปลือง รวมถึงใช้เทคนิคการประดับตกแต่งในสมัยนั้นอย่างเต็มที่ ตระกูลโอชูฟูจิวาระซึ่งเป็นผู้สร้างได้ใช้ “ทองคำ” ที่เปล่งแสงสวยสง่าออกมาโดยไม่ใช่เพื่อโอ้อวดถึงทรัพย์สมบัติ แต่เพื่อแสดงออกถึงดินแดนในอุดมคติอันปรารถนาถึงโลกที่เท่าเทียมและสงบสุขปราศจากการต่อสู้แย่งชิง และยังกล่าวกันว่าเป็นต้นแบบของ “บ้านเรือนและพระราชวังทองคำ” ที่ปรากฏอยู่ใน “จิปัง ประเทศแห่งทองคำ” อีกด้วย
Locationตำบลฮิราอิซูมิ
เป็นตลับกระจกที่ใช้เทคนิคการประดับตกแต่งในสมัยนั้นอย่างเต็มที่เช่นเดียวกับอุโบสถสีทอง มันถูกผลิตขึ้นที่ฮิราอิซูมิ แสดงให้เห็นว่าฮิราอิซูมิในสมัยนั้นมีความงามของงานศิลปหัตถกรรมสุดละเอียดละออมารวมตัวกันอยู่
Locationตำบลฮิราอิซูมิ
เป็นอุปกรณ์ที่ถูกใช้ในการแปรรูป “เศษผงทองจากมิจิโนกุ” ที่เก็บสะสมมาให้เป็นผงทอง ซึ่งทองที่แปรรูปมาก็ถูกนำมาใช้กับภาพวาดลงรักและสีผงทอง ในสมัยนั้น เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นดินแดนในอุดมคติอย่างเป็นรูปธรรมที่ฮิราอิซูมิ จึงมีการรวบรวมทองคำที่ผลิตได้ไปพร้อมกับเทคนิคงานฝีมือที่สวยงามเพื่อใช้ประโยชน์จากมันอย่างเต็มที่
Locationตำบลฮิราอิซูมิ
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้หลอม “เศษผงทองจากมิจิโนกุ” ที่เก็บสะสมมาได้ ส่วนทองที่ถูกหลอมก็นำไปใช้เป็นผลิตภัณฑ์ทองสำริด ในสมัยนั้น เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นดินแดนในอุดมคติอย่างเป็นรูปธรรมที่ฮิราอิซูมิ จึงมีการรวบรวมทองคำที่ผลิตได้ไปพร้อมกับเทคนิคงานฝีมือที่สวยงามเพื่อใช้ประโยชน์จากมันอย่างเต็มที่
Locationตำบลฮิราอิซูมิ
สถานที่ฝังพระไตรปิฎก 11 แห่งที่ถูกสร้างขึ้นที่ยอดเขาทาสึงาเนะ ตรงศูนย์กลางของสามวัดบนเขาทาสึงาเนะ (วัดเซซุยจิ วัดจัคโคจิ วัดคินปุจิ) ซึ่งตระกูลโอชูฟูจิวาระใช้เป็นสถานที่สำคัญในการภาวนาต่อพระพุทธเจ้า ในช่วงปลายสมัยเฮอันที่มีการเผยแผ่แนวความคิดเรื่องปัจฉิมธรรมอย่างแพร่หลาย เพื่อฝากฝังพระไตรปิฎกให้คงเหลือถึงรุ่นลูกหลาน จึงมีการนำพระไตรปิฎกใส่ลงในกระบอกที่ทำจากทองสำริดไปฝังแล้วสร้างเนินดินขึ้นมา มันถูกสร้างขึ้นโดยตระกูลโอชูฟูจิวาระในภูมิภาคซันริคุที่เป็นสถานที่สำคัญในการผลิตทอง ซึ่งเป็นสถานที่ที่เหมาะสมเพราะสามารถกวาดสายตาชมพื้นที่เหมืองทองสมัยใหม่ที่เขียนอยู่ในแผนภาพเคเซ็นโมโตโยชิได้ เรียกได้ว่าเป็นโบราณสถานสำคัญที่บอกเล่าถึงอิทธิพลต่อพื้นที่การผลิตทองคำในซันริคุของตระกูลโอชูฟูจิวาระที่สนับสนุนให้สร้างดินแดนในอุดมคติได้อย่างมาก
Locationตำบลมินามิซันริคุ / เมืองเคเซ็นนุมะ
ชุดพระสูตรของที่ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นของ “วัดจัคโคจิ” บนภูเขาทาสึงาเนะซึ่งตระกูลโอชูฟูจิวาระใช้เป็นศูนย์รวมพุทธศรัทธา บทพระสูตรในนี้ถูกคัดลอกด้วยสีเงินทอง และได้รับการพิจารณาว่าเป็นบทหนึ่งของชุดพระสูตรคนชิคินเด (พระสูตรที่เขียนคำสอนลงบนกระดาษสีกรมท่า) จากวัดจูซนจิ นอกจากจะเป็นการแสดงให้เห็นว่าความเชื่อความศรัทธาในสมัยนั้นได้รับการเกื้อหนุนจากทองคำแล้ว กลุ่มโบราณสถานทางพระพุทธศาสนาที่แผ่ขยายมาถึงภูเขาทาสึงาเนะ ก็ถือเป็นของโบราณล้ำค่าที่แสดงให้เห็นว่าได้รับอิทธิพลมาจากตระกูลโอชูฟูจิวาระอย่างชัดเจน
Locationตำบลมินามิซันริคุ
เป็นตู้พระที่นักพรตบนภูเขาเคยแบกซึ่งถ่ายทอดว่าวัดคันนอนจิมีความเกี่ยวพันอย่างลึกซึ้งกับภูมิภาคซันริคุและวัดจูซนจิที่ฮิราอิซูมิ มันถูกใช้ในการเก็บพระพุทธรูป เครื่องใช้ของสงฆ์ และพระไตรปิฎกราวกับเป็นกระเป๋าสะพายหลัง มันเป็นงานศิลปหัตถกรรมชั้นยอดที่เคลือบด้วยทองและทำลวดลายเชิงพระพุทธศาสนาในทุกด้าน ซึ่งถือเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ที่ถ่ายทอดเทคนิคช่างทองมาจนถึงปัจจุบันนี้
Locationเมืองเคเซ็นนุมะ