story 4
ความรุ่งโรจน์และการเสื่อมถอยของการทำเหมืองแร่ทอง
Scroll
ในสมัยเซ็นโงคุ เมื่อเทคโนโลยีการแยกทองออกจากหินแร่มีความแม่นยำมากขึ้น การพัฒนาเหมืองแร่ทองต่อจากการร่อนทองจึงได้เริ่มขึ้น “โบราณสถานเหมืองแร่ทองทามายามะ” ตั้งอยู่ที่เชิงเขาตะวันตกของภูเขาฮิคามิ เมืองริคุเซ็นทาคาตะ จังหวัดอิวาเตะ ในสมัยนั้นดาเตะ มาซามุเนะได้จัดวางเจ้าหน้าที่เหมืองแร่ทองไว้แล้วลงมือพัฒนาโดยตรง จึงมีการผลิต “ทองคำ” ปริมาณมหาศาลขึ้นมาได้ ทำให้ที่นี่กลายเป็นใจกลางของ 4 เหมืองแร่ทองขนาดใหญ่ของเคเซ็น นอกจากนี้ภูเขาฮิคามิยังเต็มไปด้วยหินแกรนิต จึงมีการผลิตหินผลึกคุณภาพดีซึ่งถูกนำไปใช้เป็นดวงตาพระพุทธรูปอีกด้วย
สิ่งที่คอยต้อนรับผู้เข้าชมอยู่ก็คือ หอคอยสูง 15 เมตรที่ตั้งตระหง่านอยู่ตรงทางเข้าเหมืองแร่ทองริมแม่น้ำเคเซ็น แม้มันจะผ่านสงครามและภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวมาแต่ก็ได้รับการฟื้นฟูอยู่เสมอด้วยกำลังของท้องถิ่นนี้ ซึ่งเต็มเปี่ยมไปด้วยเจตนารมณ์ของผู้คนที่ภาคภูมิใจในเหมืองแร่ทอง เมื่อเดินไปตามทางก็จะพบทุ่งนาเป็นขั้น ๆ กระจายตัวอยู่ อันเป็นทุ่งนาที่พัฒนาขึ้นเพื่อเกื้อหนุนการใช้ชีวิตของคนงานขุดแร่ที่กลับไปใช้ชีวิตในหมู่บ้านจากความเสื่อมถอยของเหมืองแร่ทอง หมู่บ้านนี้ยังมี “อนุสาวรีย์ดินแดนที่บุกเบิกโดยมัตสึซากะ จูเบ ซาดานาริ” ที่สรรเสริญคุณงามความดีในการพัฒนาที่ดิน “ศาลเจ้าทาเคโคมะ” ที่คนงานขุดแร่ให้ความศรัทธา และ “ต้นสนหวนกลับแห่งวัดโชกนจิ” ที่เชื่อว่าความปรารถนาที่ว่า “อยากกลับไปเหมืองแร่ทอง” ปรากฏออกมาให้เห็นในรูปของการแกว่งของกิ่งไม้ที่คงเหลืออยู่ ชวนให้นึกถึงการใช้ชีวิตในสมัยอดีต ส่วนเส้นทางไปถึงยอดเขาก็ยังมี “ซากโรงงานถลุงแร่” และ “หลุมเหมืองพันคน” ที่เป็นทางเข้าอุโมงค์เหมืองแร่ในช่วงที่รุ่งเรืองที่สุดหลงเหลืออยู่ นอกจากนี้ ที่ยอดเขายังมี “ศาลเจ้าทามายามะ” ที่เทพพิทักษ์แห่งทามายามะประดิษฐานอยู่ และทำหน้าที่ถ่ายทอดร่องรอยสมัยที่การทำเหมืองยังเฟื่องฟู ความแตกต่างระหว่างยอดเขาที่ปกคลุมไปด้วยความเงียบเชียบราวกับทุ่งหิมะที่มี “ซุริ” เศษเสี้ยวของหินเขี้ยวหนุมานที่ขุดมาได้กระจายไปทั่ว กับทัศนียภาพที่มีรวงข้าวสีทองแกว่งไกวไปทั่วหมู่บ้านนั้น บ่งบอกถึงความรุ่งโรจน์และการเสื่อมถอยของผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่ในดินแดนแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี
เป็นตราอนุญาตในระบบการขุดทองที่เริ่มต้นขึ้นโดยโทโยโทมิ ฮิเดโยชิ ซึ่งเป็นตราอนุญาตที่ทำจากไม้ที่อนุญาตให้ให้ขุดหินแร่กลางแจ้งรวมถึงร่อนทอง หลังจากสมัยของฮิเดโยชิก็สืบทอดต่อมาถึงดาเตะ มาซามุเนะเป็นผู้ดำเนินการต่อ จนในไม่ช้าการขุดทองผ่านระบบนี้ก็ได้ฝังรกรากอย่างกว้างขวางในท้องถิ่นนี้ว่าเป็นงานหาเลี้ยงชีพอย่างหนึ่งของผู้คน การร่อนทองใน “มิจิโนกุ” ที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณแสดงให้เห็นว่าแม้จะเข้าสู่สมัยใหม่แล้วก็ตาม ทองคำก็ยังสร้างความหลงใหลให้กับผู้ปกครองบ้านเมืองอยู่
Locationเมืองเคเซ็นนุมะ
เป็นเหมืองทองที่ตั้งอยู่ตอนกลางของภูเขาฮิคามิ ในสมัยเอโดะมันถูกเรียกว่าเป็น “4 เหมืองแร่ทองขนาดใหญ่เคเซ็น” ที่ดาเตะ มาซามุเนะได้ดำเนินการพัฒนาอย่างแข็งขัน ซากปรักหักพังอย่างซากโรงงานถลุงแร่ ซากด่านตรวจ และหลุมเหมืองพันคน ฯลฯ ต่างก็กระจัดกระจายอยู่ในภูเขา และบอกเล่าเรื่องราวทั้งหมดเกี่ยวกับเหมืองทองในช่วงสมัยใหม่
Locationเมืองริคุเซ็นทาคาตะ
บันทึกโบราณที่มีการอธิบายเกี่ยวกับเหมืองทองในเขตพื้นที่เคเซ็นไว้มากมาย ตระกูลโยชิดะเป็นตระกูลชั้นสูงที่ทำงานผู้รับผิดชอบสูงสุดในเขตพื้นที่เคเซ็น สภาพการทำงานในเหมืองทองสมัยนั้นได้ถูกบันทึกไว้ในนี้ เป็นเอกสารล้ำค่าที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าผู้ปกครองบ้านเมืองในขณะนั้นไม่ว่าจะเป็นโทโยโทมิ ฮิเดโยชิหรือดาเตะ มาซามุเนะต่างก็ขยับขยายธุรกิจการขุดทองอย่างแข็งขัน
Locationเมืองริคุเซ็นทาคาตะ
เป็นหินผลึกที่ผลิตได้จากแหล่งแร่ที่มาจากหินแกรนิตฮิคามิ หินผลึกนี้เป็นสิ่งที่ตกผลึกมาจากเขี้ยวหนุมาน (แร่ทองคำ) ที่เป็นแร่องค์ประกอบสำคัญของหินแกรนิต แล้วถูกนำมาใช้ทำดวงตาของพระพุทธรูป แม้แต่ในตอนนี้เองก็ยังพบได้ในเศษหินในเหมืองทองทามายามะ เป็นวัตถุล้ำค่าที่บ่งบอกลักษณะเด่นของแร่ทองคำได้อย่างดี
Locationเมืองริคุเซ็นทาคาตะ
เป็นหอคอยที่สร้างขึ้นมาจากเจตจำนงอันแรงกล้าของผู้คนในท้องถิ่นที่ว่าอยากแสดงความเคารพต่อเหมืองทองแล้วถ่ายทอดชื่อนั้นไปสู่ชนรุ่นหลัง พร้อมกับการก่อตั้งสถานีทาเคโคมะ รถไฟ JR สายโอฟุนาโตะเมื่อปี 1932 แม้ว่ามันจะถูกทำลายไปหลายต่อหลายครั้งจากสงครามและเหตุภัยพิบัติแผ่นดินไหว มันก็ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาทุกครั้งด้วยกำลังของผู้อาศัยในท้องถิ่นจนมาถึงปัจจุบันนี้ เป็นวัตถุทางประวัติศาสตร์ล้ำค่าที่ขาดไม่ได้ในการบอกเล่าเรื่องราวความรุ่งเรืองของเหมืองทองทามายามะว่าส่งผลต่อสภาพสังคมในท้องถิ่นนี้มากถึงเพียงไหน
Locationเมืองริคุเซ็นทาคาตะ
เป็นศาลเจ้าที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยกันกับศาลเจ้าทาเคโคมะเพื่ออัญเชิญเทพพิทักษ์เหมืองทองทามายามะมาประดิษฐาน ซึ่งตระกูลโอชูฟูจิวาระและตระกูลดาเตะให้ความศรัทธาอย่างลึกซึ้ง บริเวณรอบ ๆ เขตศาลเจ้ามีลักษณะสำคัญคือมีหินแร่ที่ตกผลึกและแร่ทองคำปรากฏให้เห็นอยู่ตั้งแต่สมัยนั้นจนถึงปัจจุบันนี้
Locationเมืองริคุเซ็นทาคาตะ
เป็นอนุสาวรีย์ที่แสดงความเคารพต่อร่องรอยการบุกเบิกพื้นที่ภูเขาเป็นทุ่งนา เพื่อเกื้อหนุนการใช้ชีวิตของคนงานขุดแร่ที่ทำงานอยู่ในเหมืองทองที่เสื่อมถอยลง ทุ่งนารอบ ๆ อนุสาวรีย์ถูกเรียกด้วยชื่อพื้นที่ว่า “ชินเด็น”
Locationเมืองริคุเซ็นทาคาตะ
เป็นคันกั้นน้ำจากแม่น้ำสึโบโนะซาวะที่เป็นแอ่งอยู่ในทุ่งนาชินเด็นที่บุกเบิกขึ้นมาเพื่อเกื้อหนุนการใช้ชีวิตของคนงานขุดแร่ที่ทำงานอยู่ในเหมืองทองที่เสื่อมถอยลง ทางน้ำสายหลักที่ไหลจากคันกั้นน้ำประมาณ 1 กิโลเมตรนั้นก็ยังถูกใช้อยู่แม้แต่ในปัจจุบันนี้
Locationเมืองริคุเซ็นทาคาตะ
เป็นศาลเจ้าที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยกันกับศาลเจ้าทามายามะเพื่ออัญเชิญเทพพิทักษ์เหมืองทองทามายามะมาประดิษฐาน เป็นศาลเจ้าสำคัญที่คุัมครองเหมืองทองเรื่อยมาเช่นเดียวกับศาลเจ้าทามายามะ แม้จะได้รับความเลื่อมใสศรัทธาอย่างลึกซึ้งจากตระกูลโอชูฟูจิวาระและตระกูลดาเตะ แต่เมื่อเหมืองทองเสื่อมถอยลงก็ได้ย้ายมาที่หมู่บ้านจนมาตั้งอยู่ในสถานที่ปัจจุบันนี้ เป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าที่บอกเล่าเรื่องราวของความรุ่งโรจน์และการเสื่อมถอยของเหมืองทองได้เป็นอย่างดี
Locationเมืองริคุเซ็นทาคาตะ
เป็นต้นสนที่อยู่ในเขตวัดโชกนจิ (อายุต้นไม้ประมาณ 200 – 400 ปี) จากการที่วัดโชกนจิซึ่งเคยเป็นวัดที่มีความเกี่ยวเนื่องกับเหมืองทองทามายามะได้ย้ายมาตั้งที่สถานที่ปัจจุบันจากการเสื่อมถอยของเหมืองทอง ต้นสนนี้ก็ถูกย้ายมาปลูกที่นี่เช่นกัน ตามที่กล่าวกันว่ามัน “แสดงออกถึงความปรารถนาที่อยากกลับไปทามายามะด้วยรูปลักษณ์ที่บิดโค้งราวกับมังกร” จึงเป็นอันรู้กันว่าต้นสนนี้เป็นสัญลักษณ์ของความนึกคิดที่มีต่อเหมืองทองของผู้คนในหมู่บ้าน
Locationเมืองริคุเซ็นทาคาตะ