story 5
เหมืองแร่สมัยใหม่ที่มีบทบาทในช่วงตื่นทองของญี่ปุ่น
Scroll
เมื่อเข้าสู่สมัยเมจิ เหมืองต่างๆ ก็ได้มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดมาประยุกต์ใช้ การพัฒนาเหมืองแร่ขนานใหญ่ในแต่ละพื้นที่ก็ได้เริ่มต้นขึ้น เกิดเป็นช่วงตื่นทองอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ท่ามกลางความร้อนแรงนั้นเอง ที่ “เหมืองทองชิชิโอริ” ในเมืองเคเซ็นนุมะ จังหวัดมิยางิ ช่วงปีค.ศ. 1904 ก็ได้ผลิต “มอนสเตอร์โกลด์” ทองคำธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นออกมา มันได้ถูกนำไปจัดแสดงในงานนิทรรศการนานาชาติที่เซนต์หลุยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกาในปีเดียวกัน และได้สร้างความตกตะลึงไปทั่วโลก
นอกจากเหมืองทองชิชิโอริแล้วก็ยังมีเหมืองแร่ที่มีบทบาทในการตื่นทองอยู่อีก ซึ่งก็คือ “เหมืองแร่โอยะ” ที่ตั้งตระหง่านอยู่บนพื้นที่เนินเขาทางตอนใต้ของเมืองเคเซ็นนุมะนั่นเอง โดยในช่วงที่รุ่งเรืองที่สุดคือปี 1935 ได้ผลิต “ทองคำ” ออกมาถึงประมาณ 1 ตันต่อปีเลยทีเดียว โรงงานถลุงแร่ขนาดใหญ่ยักษ์ได้กลายเป็นสถานที่ครึกครื้นที่ไม่เคยหลับใหล จนเกิดขึ้นมาเป็นย่านเหมืองแร่ขนาดใหญ่ที่มีแม้กระทั่งโรงภาพยนตร์และโรงเรียนอนุบาลเพื่อพนักงานประมาณ 1,300 คน ถึงแม้ว่าเหมืองแร่ทั้งสองแห่งที่เคยมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นถึงเพียงนั้นได้ปิดตัวลงเมื่อประมาณหลายสิบปีก่อนและกำลังหวนคืนสู่ธรรมชาติ แต่สิ่งที่ใช้จนสึกหรอและค้อนที่ยังหลงเหลืออยู่ในพิพิธภัณฑ์ตรงเชิงเขา ก็ได้ถ่ายทอดถึงความหลงใหลใน “ทองคำ” ของคนงานขุดแร่ที่เริ่มขุดชั้นหินใต้ดินอยู่ในอุโมงค์แคบ ๆ โดยอาศัยประสบการณ์และสัญชาตญาณ รวมถึงความคึกคักของเหมืองแร่มาจนถึงปัจจุบัน และยังคงส่งต่อมนตร์เสน่ห์ที่ไม่จางหายเรื่อยมา
เป็นเหมืองทองที่ตั้งอยู่บนต้นน้ำของแม่น้ำชิชิโอริ เมืองเคเซ็นนุมะ ท่ามกลางการเข้าสู่สมัยใหม่ของเหมืองทองในสมัยเมจิ มันก็ได้กำเนิด “มอนสเตอร์โกลด์” ทองคำธรรมชาติขนาดใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นที่ทำให้ทั่วโลกตื่นตะลึงขึ้นมา เป็นเหมืองทองสำคัญที่ทำให้เหมืองทองใน “มิจิโนกุ” กลายมาเป็นแหล่งทรัพยากรที่ค้ำจุนประเทศชาติ จากสำนักงานเหมืองแร่เก่าที่เชิงเขามาจนถึงพื้นที่ระหว่างภูเขานั้น มีซากอุโมงค์เหมืองแร่ ซากรถเข็น กองภูเขาเศษเสี้ยวของหินเขี้ยวหนุมานที่ถูกทิ้งกระจัดกระจายอยู่มากมาย
Locationเมืองเคเซ็นนุมะ
เมื่อปี 1904 ที่เหมืองทองชิชิโอริได้ขุดพบ “มอนสเตอร์โกลด์” ทองคำสัตว์ประหลาดที่มีน้ำหนัก 2.25 กิโลกรัมและอัตราส่วนของทองอยู่ 83% ท่ามกลางสถานการณ์ที่ขุดก้อนทองขนาดเล็กก็ว่ายากแล้ว ความใหญ่โตของมันทำให้ทั่วโลกเกิดความตื่นตะลึง จนถูกนำไปจัดแสดงที่งานนิทรรศการนานาชาติที่เซนต์หลุยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกาที่จัดขึ้นในปีเดียวกันนั้น และได้รับรางวัลเหรียญทองแดงมา สิ่งนี้เป็นใบประกาศเกียรติคุณที่เป็นที่ระลึกในการได้รับรางวัลนั้นมา ถือเป็นเครื่องหมายที่แสดงพลังของ “จิปัง ประเทศแห่งทองคำ” ให้ประจักษ์ต่อสายตาชาวโลก และแสดงให้เห็นถึงสภาพความเป็นจริงของการผลิตทองในมิจิโนกุ
Locationเมืองเคเซ็นนุมะ
เป็นชุดอุปกรณ์ที่ใช้ในการขุดและคัดแยกแร่ในเหมืองทองชิชิโอริ ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ขุด เตาหลอมทอง รวมถึงภาพถ่ายเก่าและเอกสารบันทึกต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงบันทึกที่เกี่ยวกับ “มอนสเตอร์โกลด์” ทองคำสัตว์ประหลาดและกระบวนการขุดทองด้วย เป็นชุดอุปกรณ์ที่ทำให้เข้าใจถึงสภาพเหมืองทองที่เข้าสู่ช่วงสมัยใหม่ได้อย่างดี
Locationเมืองเคเซ็นนุมะ
เป็นเหมืองแร่ทองที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่โอยะ เมืองเคเซ็นนุมะ เป็นเหมืองที่ได้รับผลกระทบจากการผลิต
“มอนสเตอร์โกลด์” ในเหมืองทองชิชิโอริ จึงมีการปฏิบัติการขุดทองตั้งแต่ปี 1905 เรื่อยมาจนถึงปี 1976 และเกิดเป็นย่านเหมืองแร่ขึ้นมา เป็นมรดกล้ำค่าที่แสดงให้เห็นถึงรูปลักษณ์สุดท้ายท่ามกลางธุรกิจการขุดทองที่ทำมายาวนานกว่า 1,250 ปี ซากโรงงานถลุงแร่ขนาดใหญ่ยักษ์ที่ทำขึ้นจากคอนกรีตนั้น กลายมาเป็นอนุสาวรีย์ที่ทำให้หวนคิดถึงความรุ่งโรจน์ในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี
Locationเมืองเคเซ็นนุมะ
เป็นชุดอุปกรณ์ที่ใช้ในการขุดและคัดแยกแร่ในเหมืองทองโอยะ ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ขุดที่คนงานเหมืองแร่ใช้ เครื่องจักรที่ใช้ในขุดเจาะและการคัดแยกแร่ รวมถึงภาพถ่ายและบันทึกที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ เป็นชุดอุปกรณ์สุดล้ำค่าที่ทำให้รู้ถึงความรุ่งเรืองและการขยับขยายของเหมืองทองสมัยใหม่ในญี่ปุ่น จนมาถึงการปิดเหมืองไปตามยุคสมัยได้เป็นอย่างดี
Locationเมืองเคเซ็นนุมะ
เป็นหินแร่ทองคำที่ขุดได้จากเหมืองแร่โอยะ ทองคำธรรมชาติจากพื้นที่ทางตอนใต้ของพื้นที่ภูเขาคิตาคามินั้น มีลักษณะพิเศษคือมักจะพบได้ในขนาดใหญ่พอที่จะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แม้แต่หินแร่ทองคำก้อนนี้เองก็พบเม็ดทองได้ง่าย ๆ อาจกล่าวได้ว่าที่ธุรกิจอันรวมถึงการร่อนทองแพร่หลายออกไปนั้นเป็นเพราะลักษณะพิเศษเช่นนี้ของ “ทองคำในมิจิโนกุ” นั่นเอง
Locationเมืองเคเซ็นนุมะ