story 6
Scroll
เมื่อการร่อนทองได้แทรกซึมเข้าสู่ท้องถิ่น ระหว่างที่การพัฒนาเหมืองแร่ทองกำลังคืบหน้า ภูเขาที่สร้างชื่อจากการผลิตทองคำก็ได้กลายเป็นแดนศักดิ์สิทธิ์ที่นำพาความมั่นคงมาให้ วัฒนธรรมที่ถือกำเนิดขึ้นมาจากความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนและ “ทองคำ” ได้กระจายออกไปสู่ผู้คนตาม “หมู่บ้าน” และ “ทะเล” จนได้สืบทอดต่อ ๆ กันมาในหมู่ผู้คนว่าทองคำเป็นสัญลักษณ์แห่งการอวยพร ภาวนา ความมีชีวิตชีวา และความคึกคัก พวกเครื่องมือต่าง ๆ ที่ถูกใช้ในการขุดทองได้หลอมรวมเข้ากับการใช้ชีวิตใน “หมู่บ้าน” เสียงกลองไทโกะที่ตีถวายให้เทพภูเขารวมถึงเพลงที่ร้องกันตอนทำงานก็หลอมรวมเข้ากับวัฒนธรรมทาง “ทะเล” จนผลิบานออกมาเป็นศิลปะการแสดงเปี่ยมเอกลักษณ์ที่เติมสีสันให้กับเมืองท่าเรือได้อย่างดี
พวกเราได้ตั้งชื่อให้กับความสัมพันธ์ของ “ทองคำ” ที่ฝังรกรากอยู่ในสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศที่ดินแดนมิจิโนกุได้หล่อเลี้ยงขึ้นมาพร้อมกับภูเขาและแม่น้ำ หมู่บ้าน รวมถึงทะเลว่า “มิจิโนกุ GOLD” และได้เริ่มต้นการขุดค้นคุณค่าและมนตร์เสน่ห์ของมันขึ้นมา การค้นพบ “มิจิโนกุ GOLD” ที่ซ่อนอยู่ในวัฒนธรรม ความศรัทธา อุตสาหกรรม และทุกการใช้ชีวิตนั้น เป็นอะไรที่ไม่ด้อยไปกว่าดินแดนในอุดมคติที่มาร์โค โปโลได้ขนานนามว่า “จิปัง ประเทศแห่งทองคำ” และเปี่ยมล้นไปด้วยความโรแมนติกที่เปล่งประกายงดงาม
ภูเขาโนโนะดาเกะที่ได้รับการประเมินว่าเป็น “ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับการคุ้มครองจากพระพุทธเจ้า” จากการผลิตทองคำขึ้นมาได้เป็นที่แรกในญี่ปุ่นนั้น เมื่อมาถึงสมัยเฮอันก็ได้ถูกเชื่อมโยงเข้ากับความศรัทธาต่อภูเขาและตระหนักรับรู้กันว่าเป็น “แดนศักดิ์สิทธิ์ที่นำความสงบเรียบร้อยมาสู่มิจิโนกุ” ส่วน “วัดคอนโปจิ” ซึ่งเป็นวัดบนภูเขานั้น แม้จะมาถึงปัจจุบันซึ่งเวลาผ่านมานับ 1,250 ปีจากการก่อตั้ง ก็ยังคงปกป้องคุ้มครองยอดเขาซึ่งเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ “ห้ามฆ่าสัตว์ตัดชีวิต” เรื่อยมา และกลายมาเป็นสถานที่สำคัญของความเชื่อความศรัทธาในท้องถิ่น วัดคอนโปจิถือเป็นตัวอย่างที่ดีที่แสดงให้เห็นถึงการยกระดับไปสู่การเป็นเป้าหมายแห่งความเชื่อความศรัทธาที่ปรารถนาให้เกิดความมั่นคงในท้องถิ่น ในระหว่างที่ภูเขามีชื่อเสียงขจรกระจายจากการผลิตทองและได้กลายมาเป็นแดนศักดิ์สิทธิ์ในที่สุด
Locationตำบลวาคุยะ
เป็นชุดอุปกรณ์ที่ใช้ในการร่อนทองที่แม่น้ำและแยกทองออกจากหินแร่ การร่อนทองที่ทำกันมาตั้งแต่โบราณได้ฝังรากลึกเป็นงานเลี้ยงชีพที่สนับสนุนการใช้ชีวิตของผู้คนในท้องถิ่นผ่านระบบตราอนุญาตในช่วงสมัยใหม่ อีกทั้ง ในส่วนของเหมืองทองที่ขุดหินแร่ขึ้นมา แม้ว่าจะสิ้นสุดการทำงานส่วนนั้นลงก็ยังเป็นที่ยอมรับกันในหมู่บ้านว่าเป็นธุรกิจการขุดทองส่วนบุคคล ทำให้ธุรกิจการขุดทองยังทำสืบเนื่องกันมาจนถึงช่วงสมัยใหม่ เป็นชุดอุปกรณ์ที่เปรียบดังลมหายใจและชีวิตของผู้คนที่นี่
Locationเมืองริคุเซ็นทาคาตะ
ชุดอุปกรณ์สำหรับร่อนทองในภูเขาโนโนะดาเกะ การร่อนทองที่ทำกันมาตั้งแต่โบราณได้ฝังรากลึกเป็นงานเลี้ยงชีพที่สนับสนุนการใช้ชีวิตของผู้คนในท้องถิ่นผ่านระบบตราอนุญาตในช่วงสมัยใหม่ แม้แต่ในตำบลวาคุยะ ซึ่งเป็นสถานที่ผลิตทองแห่งแรกในญี่ปุ่น ก็ยังมีการร่อนทองในช่วงนอกฤดูทำการเกษตรมาจนถึงยุคสมัยใหม่ เป็นชุดอุปกรณ์ที่เปรียบดังลมหายใจและชีวิตของผู้คนที่นี่
Locationตำบลวาคุยะ
เป็นสวนของตระกูลอายุไค ตระกูลชั้นสูงแห่งแคว้นเซ็นไดที่มีฐานที่มั่นอยู่ที่เคเซ็นนุมะในสมัยเอโดะ โม่หินสำหรับเหมืองทองที่ใช้บดแร่ทองคำได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้เป็นหินจัดสวน สวนแห่งนี้เกิดขึ้นมาได้เพราะว่าเป็นพื้นที่ที่มีเหมืองทองสมัยใหม่ตั้งกระจายอยู่มากมาย และมีธุรกิจการขุดทองที่ฝังรากลึกอย่างกว้างขวางมาตั้งแต่สมัยโบราณ กล่าวได้ว่าพวกอุปกรณ์ที่ใช้ในการขุดทองเป็นตัวอย่างที่ดีที่แสดงให้เห็นว่ามันได้หลอมรวมเข้ากับการใช้ชีวิตในท้องถิ่นอย่างแยกไม่ออก
Locationเมืองเคเซ็นนุมะ
เป็นงานศิลปหัตถกรรมแบบดั้งเดิมที่ถ่ายทอดเทคนิคการแปรรูปทองและงานช่างทองแบบที่คอนจิกิโด (อุโบสถสีทอง) มาจนถึงปัจจุบันนี้ เชื่อกันว่ามีต้นกำเนิดมาจากการที่ฟูจิวาระ โนะ ฮิเดฮิระได้เชิญช่างฝีมือจากเกียวโตเข้ามา แล้วให้ทำภาชนะที่วิจิตรตระการตาขึ้นมาจากการใช้ผงทองที่ผลิตมาได้อย่างไม่กลัวเปลือง
Locationตำบลฮิราอิซูมิ
เป็นของเล่นพื้นเมืองจากกระดาษอัดเบาที่อัดทองที่เลียนรูปลักษณ์จากวัวที่ขนกระสอบบรรจุทองที่ผลิตได้ที่เหมืองทองทามายามะ มันเป็นงานศิลปหัตถกรรมแบบดั้งเดิมที่ผลิตขึ้นมาตั้งแต่สมัยเอโดะและสืบทอดต่อกันมาในท้องถิ่น เป็นผลงานที่ชวนให้คิดถึงความรุ่งเรืองของเหมืองทองในอดีต
Locationเมืองริคุเซ็นทาคาตะ
เป็นบ้านพักอาศัยเก่าของตระกูลคาราคุวะที่ได้รับหน้าที่ให้เรียกเก็บผงทองและพัฒนาเหมืองทองอย่างเช่นเหมืองทองชิชิโอริ ฯลฯ ในสมัยเอโดะ เมื่อปี 1675 ตระกูลโคดาเตะซูซูกิได้รับการถ่ายทอดเทคนิคการตกปลาโอจากคิชูคุมาโนะ จนขยับขยายมาเป็นการบริหารจัดการในครัวเรือนแบบรอบด้านตามยุคสมัย ไม่ว่าจะเป็นการกิจการประมงหรือผลิตเหล้า ฯลฯ ส่วนในสมัยเมจิก็มีการลงมือพัฒนาเหมืองทองโอยะอีกครั้ง จากบันทึกโบราณที่เกี่ยวข้องกับการขุดทองที่หลงเหลืออยู่ในตระกูลโคดาเตะซูซูกิ ทำให้ทราบว่ามีการขุดทองอย่างแข็งขันในภูมิภาคนี้ ที่นี่เป็นตัวอย่างที่ดีที่ถ่ายทอดถึงสภาพที่เป็นอยู่ของบ้านเก่าที่ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับทะเล และการขุด “ทอง” ที่แทรกซึมอยู่ภายในพื้นที่นี้
* ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมนี้ไม่เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชม
Locationเมืองเคเซ็นนุมะ
ในสมัยเอโดะ แม้ว่าการขุดทองในพื้นที่นี้จะฝังรากลึกเป็นสิ่งหล่อเลี้ยงการใช้ชีวิต จนมีการทำกันอย่างแข็งขันในชีวิตประจำวันก็ตาม แต่ยิ่งเฟื่องฟูมากเท่าไร พอผ่านไปนานเข้าการผลิตทองให้ได้ในปริมาณที่คงที่ก็เป็นเรื่องยากจนเกิดเป็นภาระใหญ่หลวงของพื้นที่ ซึ่งที่เคเซ็นนุมะก็มีการตกปลาโอไปพร้อมกับขุดทองอย่างต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งพัฒนาขึ้นมาเป็น “ท่าเรือรอลม” ที่มีเรือหลายลำแล่นไปตามลมที่พัด กล่าวกันว่าเคเซ็นนุมะเป็นเมืองท่าเรือที่บุกเบิกและค้ำจุนโดยคนสำรวจแร่ “ทัศนียภาพช่วงรอลมและท่าเรือเคเซ็นนุมะ” นั้นอัดแน่นไปด้วยประวัติศาสตร์การพัฒนาเมืองท่าเรือที่การขุดทองได้หลอมรวมเข้ากับภูมิประเทศและดินฟ้าอากาศ
Locationเมืองเคเซ็นนุมะ
การแสดงดนตรีไทโกะบายาชิที่แสดงถวายในเทศกาล “เทพภูเขา” ที่จัดฉลองให้การผลิตทองคำ มันได้ฝังรากลึกจนเป็นศิลปะการแสดงที่ภาวนาอธิษฐานถึงการตกปลาได้มาก การเดินเรือปลอดภัย พร้อมกับการพัฒนาเมืองท่าเรือเคเซ็นนุมะ เสียงกึกก้องของกล้องไทโกะที่ดูทรนงองอาจและมีความคึกคักเข้มแข็งนั้น เป็นศิลปะการแสดงพื้นเมืองที่เชื่อมโยงวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นมาท่ามกลางการขุดทองเข้ากับวัฒนธรรมทางทะเล และทำให้รู้สึกได้ว่า “มันถูกสืบทอดในหมู่ผู้คนเรื่อยมาในฐานะสัญลักษณ์ของความมีชีวิตชีวาและความคึกคักคับคั่ง”
Locationเมืองเคเซ็นนุมะ
เพลงที่คนงานขุดแร่ร้องเวลาทำงานหนักในเหมืองทอง ได้กลายมาเป็นเพลงที่ชาวประมงร้องฉลองเวลาตกปลาได้มากที่สืบทอดต่อกันมาในหมู่ชาวประมง ถือเป็นศิลปะการแสดงพื้นเมืองที่เห็นได้ชัดว่าได้รับมาจากวัฒนธรรมเหมืองทอง ผสมผสานกับวัฒนธรรมทางทะเล และถูกหล่อเลี้ยงด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมระดับท้องถิ่น สิ่งนี้เป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่มีลักษณะเด่นอันบอกเล่าถึง “สายสัมพันธ์ระหว่างทะเล หมู่บ้าน ภูเขา แม่น้ำที่ได้รับการหล่อเลี้ยงจากดินแดนมิจิโนกุและ “ทองคำ” ที่ฝังรากลึกอยู่ท่ามกลางสภาพภูมิประเทศและดินฟ้าอากาศที่มีชีวิตอยู่ร่วมกัน”
Locationเมืองเคเซ็นนุมะ
คิงคะซัง ถือเป็นสถานที่ศักดิสิทธิ์หนึ่งในสามของโทโอ (โทโอ ปัจจุบันคือส่วนหนึ่งในภูมิภาคโทโฮคุ) ร่วมกับ ภูเขาฮะกุโระ, และภูเขาโอโซเระ
ในขณะที่ “มิจิโนะกุ โกลด์” ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ทางการค้า ซึ่งเป็นตัวแทนแห่งทองคำของญี่ปุ่น คิงคะซังก็ได้กลายเป็นสถานที่ศักดิสิทธิ์ ซึ่งเชื่อมโยงกับตำนานแห่งทองคำ และได้รับการพัฒนาอย่างยิ่งใหญ่ในฐานะ “คิงคะซังโมเดะ”
และยังคงได้รับความศรัทธา ในฐานะ “เกาะแห่งการอธิษฐาน ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของเทพเจ้าแห่งทองคำ” จวบจนกระทั่งปัจจุบัน
Locationเมืองอิชิโนะมากิ
เส้นทางแสวงบุญ จากอิชิโนะมากิ มุ่งหน้าไปยังคิงคะซัง ถูกเรียกว่า “เส้นทางคิงคะซัง”
เคยมีกฎห้ามไม่ให้สตรีเดินทางไปสักการะศาลเจ้าบนเกาะคิงคะซัง จนถึงช่วงต้นของสมัยเมจิ ทำให้บรรดาสตรีต้องสักการะศาลเจ้าจาก “เสาโทริอิต้นที่หนึ่ง” ซึ่งตั้งอยู่บริเวณยามะโดะริ
ปัจจุบัน กฎข้อห้ามไม่ให้สตรีเข้าถูกยกเลิกไปแล้ว และสามารถเดินทางจากท่าเรืออายุคาวะ ไปยังเกาะคิงคะซังได้ แต่บริเวณ “ยามะโดริ โนะ วาตาชิ” ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดเส้นทางคิงคะซัง ก็ยังคงหลงเหลือ “เสาโทริอิต้นที่หนึ่ง” กับท่าเทียบเรือในอดีต และเส้นทางสายเก่าอยู่ สื่อให้เห็นถึงทัศนียภาพในยุคนั้น
Locationเมืองอิชิโนะมากิ